อาการปวดข้อนับเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมีสาเหตุการเกิดที่หลากหลาย บางครั้งอาจไม่ได้เป็นอะไรมาก แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาทันที ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเรียนรู้วิธีสังเกตอาการปวดข้อของตัวเองว่าเป็นแบบไหน เพื่อประเมินว่าอาการนั้นร้ายแรงหรือไม่ และต้องไปพบแพทย์หรือเปล่า
บทความนี้จะมาบอก 10 จุดสังเกตอาการปวดข้อ ว่าปวดแบบไหนถึงต้องไปพบแพทย์ รวมถึงวิธีรักษาอาการปวดตามข้อว่ามีอะไรบ้าง
อาการปวดข้อที่เป็นมานานกว่า 3 เดือน โดยไม่มีประวัติการบาดเจ็บหรือโรคประจำตัว อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคกระดูกพรุน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอาการอย่างถูกต้อง
หากเกิดอาการปวดข้อรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้นอนไม่หลับ ทำงานไม่ได้ หรือทำกิจวัตรประจำวันไม่สะดวกอย่างเคย นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบหรือปัญหาข้อรุนแรง ที่ต้องได้รับการดูแลพร้อมวิธีรักษาอาการปวดตามข้อโดยเร็ว
อาการบวม แดง ร้อน และตึงของข้อต่อ เป็นสัญญาณชัดเจนของภาวะข้ออักเสบ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการติดเชื้อ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างเหมาะสมและถูกวิธี
เมื่อข้อสึกหรอจากการใช้งานมากเกินไป อาจทำให้เกิดเสียงก๊อบแก๊บเวลาขยับข้อ รวมถึงอาจมีอาการปวดและขยับข้อได้ไม่สะดวก ซึ่งเป็นอาการของโรคข้อเสื่อมที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
หากพบว่าข้อต่อของร่างกายไม่สามารถขยับได้อย่างคล่องแคล่ว หรือรู้สึกติดขัด ใช้ชีวิตไม่สะดวกเหมือนอย่างเคย นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบหรือภาวะข้อเสื่อมรุนแรง ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันปัญหาการเคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น
ในกรณีที่ข้อต่อมีรูปร่างผิดปกติ บิดเบี้ยว หรือเสียรูปทรง อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่รุนแรงจากโรคกระดูกพรุน หรือโรคข้ออักเสบรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อป้องกันการสูญเสียการใช้งานของข้อต่อ
หากมีไข้ร่วมกับอาการปวดข้อ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อในข้อต่อ หรือโรคติดเชื้อทั่วร่างกาย ที่ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดข้อ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน
ในบางกรณี อาการปวดข้อที่รุนแรงอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่ออ่อนแรงลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือการใช้งานข้อต่อน้อยลงจากอาการปวด หากพบอาการนี้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาอาการปวดตามข้อทันที
หากพบว่ามีอาการเดินลำบาก สะดุดบ่อย หรือขาข้างใดข้างหนึ่งสั้นลงอย่างผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ข้อต่อสะโพกหรือเข่า ซึ่งอาจเกิดจากโรคข้อเสื่อม การบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของกระดูก จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
เคยมีประวัติการบาดเจ็บที่บริเวณข้อต่อในอดีต เช่น จากการหกล้มหรือถูกกระแทก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือความเสียหายของเอ็นและกระดูก หากพบว่ามีอาการปวดข้อภายหลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณนั้น ๆ มา ควรแจ้งประวัติให้แพทย์ทราบเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
เมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดข้อรุนแรงหรือเรื้อรัง การได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา โดยวิธีรักษาอาการปวดข้อหลัก ๆ มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม การสังเกตอาการปวดข้อให้ดีและรีบปรึกษาแพทย์หากพบอาการ จะช่วยให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้อาการลุกลามหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจปัญหาข้อเข่ากับคลินิกกระดูกและข้อ หรือมีปัญหาปวดหลังเรื้อรังที่กำลังมองหาคลินิกรักษากล้ามเนื้ออักเสบ สามารถมาปรึกษาได้ที่ Bonefit Clinic เราทำได้มากกว่าแค่การรักษาตามอาการ แต่ยังช่วยคุณป้องกันอาการปวดข้อ หรือโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมาในอนาคตจากการปวดข้อได้ด้วย นัดหมายแพทย์ได้เลยวันนี้ที่ โทร. 092 629 7964, 095 251 5952 หรือ Line ID : @BONEFIT Clinic
เรียบเรียงโดย
นพ. กนกพล ธนกิจรุ่งทวี (หมอนิก)
แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ อนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก
การรักษาด้วยเซลล์บำบัด