fbpx

Vitamin D ดีอย่างไร ?

Vitamin D : มีดีกว่าที่คิด ?

วิตามินดีมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร ?
ควบคุมภาวะสมดุลของเเร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสเฟต ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดียังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดูแลร่างกายในหลาย ๆ อวัยวะ ตั้งแต่สมอง อารมณ์
หัวใจ หลอดเลือด เส้นเอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ ตับอ่อน รังไข่ เต้านม
ต่อมลูกหมาก และอื่น ๆ

วิตามิน ดี อาหารวิตามินรักษาข้อเข่าเสือม , รักษาข้อเข่าเสือม , รักษาอาการข้อเข่าเสือมโดยไม่ต้องผ่าตัด

นอกจากการสร้างกระดูกให้แข็งแรงวิตามินดียังมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นอย่างไรอีกบ้าง ?

  • ลดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายสามารถใช้อินซูลินได้ดีขึ้น จึงลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • ปวดศีรษะไมเกรนที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน
  • วิตามินดีช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้น ช่วยลดความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้
  • ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด
  • มีการศึกษาพบว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำ สัมพันธ์กับโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น SLE ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด
  • ช่วยป้องกัน และรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ
อาหารวิตามินรักษาข้อเข่าเสือม , รักษาข้อเข่าเสือม , รักษาอาการข้อเข่าเสือมโดยไม่ต้องผ่าตัด

วิตามินดียังมีประโยชน์ในเรื่องภูมิคุ้มกันอย่างไร ?

  • ช่วยให้เม็ดเลือดขาวหลายชนิด ทั้ง neutrophils macrophages lymphocyte ฆ่าเชื้อโรคได้ดีขึ้น และช่วยให้เม็ดเลือดขาวชนิด macrophages เพิ่มความสามารถให้การจับเชื้อโรคได้ดีขึ้น
  • มีการศึกษา ระดับวิตามินดีมากกว่า 38 ng/ml ลดการติดเชื้อไวรัส
    ในระบบทางเดินหายใจได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปรับสมดุล และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถต้านทานโรคได้มากขึ้น
  • ช่วยต้านโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีความหนัก และต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น วิ่งมาราธอน ไตรกีฬา

กลุ่มเสี่ยงที่จะขาดวิตามินดีคือกลุ่มใด ?

  • คนที่มักใช้ชีวิตในร่ม รวมถึงคนที่สวมใส่เครื่องนุ่งห่ม หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (ซึ่งในปัจจุบัน ครีมกันเเดดมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถป้องกันรังสียูวีบี ลดการผลิตวิตามินดีได้ถึง 97-100%)
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งผิวหนัง และไตมีประสิทธิภาพในการสร้างวิตามินดีลดลง
  • ผู้ที่มีผิวสีเข้ม (ยิ่งสีผิวเข้ม ยิ่งได้รังสียูวีบีน้อย)
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีไขมันสะสม มักเป็นผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะการขาด
    หรือ พร่องวิตามินดี
  • รวมถึงยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลทำให้ได้รับรังสียูวีบีน้อยลง เช่น วันที่มีเมฆ
    ร่มเงาใต้ชายคา หมอกควัน มลภาวะ ฤดูกาล หรือ ตำแหน่งของผิวโลกที่เรา
    อาศัยอยู่ (เช่น ประเทศไทย อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แสงแดดมาก โอกาสที่จะได้รับรังสียูวีบี ย่อมมากกว่าคนที่อยู่ค่อนไปทางขั้วโลก) และ รังสียูวีบีไม่สามารถผ่าน กระจกใส หน้าต่างกระจก หรือ หน้าต่างรถยนต์ได้

เสริมภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินดี

          โดยปกติแล้ว ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากผิวหนังเมื่อโดนแสงแดด แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่สัมผัสแสงแดดน้อยลง และปัจจัยอื่นๆ เช่น มลพิษ ช่วงเวลาของวัน ฝุ่นละออง ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ประกอบกับ อาหารที่รับประทานก็มีวิตามินดีไม่เพียงพอ ทำให้พบว่า 45% ของประชากรมีภาวะพร่องวิตามินดี หรือมีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอ

ร่างกายของเราได้รับวิตามินดีจากไหนบ้าง?

อาหารรักษาข้อเข่าเสือม , รักษาข้อเข่าเสือม , รักษาอาการข้อเข่าเสือมโดยไม่ต้องผ่าตัด

ร่างกายของเรา รับวิตามินดีได้จาก 2 ทาง คือ

  • 80-90% จากการสังเคราะห์ที่ผิวหนัง หลังได้รับแสงแดด (UVB)

การสัมผัสแสงแดดในช่วงเวลา 9.00-15.00 น. นาน 5-30 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

  • 10-20% จากการรับประทานอาหาร วิตามิน และอาหารเสริม

แหล่งอาหารที่มีวิตามิน D สูง : น้ำมันตับปลา ปลาที่มีไขมันสูง (เช่น แซลมอน ทูน่า) ไข่แดง นมและผติภัณฑ์จากนม เห็ด เมล็ดธัญพืช สาหร่ายบางชนิด

โดยปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายได้รับนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล ดังนี้

  • อายุน้อยกว่า 1 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400 IU (10 ไมโครกรัม)
  • อายุ 1-70 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 600 IU (15 ไมโครกรัม)
  • อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินดี วันละ 800 IU (20 ไมโครกรัม)
  • สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400-600 IU (10 ไมโครกรัม) ส่วนสตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มความเสี่ยงสูง
    ควรได้รับวิตามินดี วันละ 2,000-4,000 IU (50-100 ไมโครกรัม)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดเข่าต้องรักษากับ BONEFIT CLINIC เท่านั้น
รักษาได้แบบไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
Dr. NICK 
นพ. กนกพล ธนกิจรุ่งทวี
แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อชำนาญการด้านข้อเข่าและสะโพก