fbpx

อาการปวดเข่าในวัยรุ่นเกิดจากอะไร อายุน้อยก็ไม่ควรปล่อยผ่าน

แม้จะยังเป็นวัยรุ่น แต่หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหา “ปวดเข่า” ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ มักพบได้บ่อยทั้งในนักกีฬาและวัยรุ่นทั่วไป บางคนอาจคิดว่าอายุยังแค่นี้ ปล่อยไว้คงไม่เป็นอะไรมากและน่าจะหายไปเอง แต่รู้หรือไม่ว่า การละเลยอาการปวดเข่าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้

บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีแก้อาการปวดเข่าในวัยรุ่น เพื่อให้คุณเข้าใจและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง

วัยรุ่นชายมีอาการปวดเข่า

อาการปวดเข่าในวัยรุ่นเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

สาเหตุจากการใช้งาน

  • การบาดเจ็บ
    เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเข่าในวัยรุ่นเลยทีเดียว โดยอาจเกิดจากการเล่นกีฬา การประสบอุบัติเหตุ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวผิดท่าอย่างกะทันหัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของหมอนรองเข่า การสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เอ็นข้อเข่า หรือกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่าฉีกขาด รวมถึงอาจทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ หากไม่ได้รับการรักษาหรือใช้วิธีแก้อาการปวดเข่าที่เหมาะสม อาการปวดก็อาจทวีความรุนแรงขึ้นได้

  • การใช้งานที่มากเกินไป
    ในบางกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของข้อเข่ามาก เช่น การเล่นกีฬาบางประเภท การเต้น หรือแม้แต่การยืนเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดความเกร็งเครียดบริเวณข้อเข่ามากจนเกินไป ซึ่งจะนำไปสู่อาการปวดและการอักเสบได้

  • การนั่งผิดท่าเป็นประจำหรือเป็นเวลานาน
    การนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องหรือท่านั่งเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขา รวมถึงเอ็นและข้อต่าง ๆ ต้องทำงานหนัก ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่การปวด การอักเสบ และในระยะยาวอาจเกิดการเสียหายแก่โครงสร้างของข้อเข่าได้

  • การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม
    การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับรูปเท้า น้ำหนักตัว และกิจกรรมที่ทำ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน เพราะรองเท้าที่สวมใส่ไม่พอดีหรือมีพื้นรองเท้าที่ไม่นุ่มและยืดหยุ่นเพียงพอทำให้น้ำหนักตัวกระจายลงบนข้อเข่าได้ไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้เกิดแรงกดทับบนข้อเข่ามากเกินไป นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวด การบาดเจ็บ และการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่รองรับน้ำหนัก

สาเหตุจากโรคประจำตัว

  • โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
    เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยรุ่นได้เช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีการบาดเจ็บที่ข้อเข่ามาก่อน หรือมีความผิดปกติของข้อเข่าตั้งแต่กำเนิด ทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อเข่าจนมีอาการปวด

  • โรคสะบ้าเคลื่อน (Osgood-Schlatter Disease)
    เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิดจากการที่เอ็นไขว้หน้าของข้อเข่ามีการอักเสบ ทำให้เกิดก้อนนูนที่บริเวณหัวเข่า เป็นผลให้เกิดอาการปวดและอาจมีอาการบวมร้อน

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
    โรคนี้ไม่มีการระบุถึงสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน แต่จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะพันธุกรรม ฮอร์โมนเพศ การติดเชื้อ ฯลฯ ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้ออย่างเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้กระดูกและเอ็นรอบ ๆ ข้อถูกทำลาย ซึ่งหากเป็นรุนแรงก็อาจนำไปสู่ความพิการได้ ถึงแม้โรคนี้จะพบได้น้อยในวัยรุ่น แต่ก็มีบางรายที่เริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุยังน้อยเช่นกัน

  • โรคข้ออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Septic Arthritis)
    เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบและของเหลวคั่งค้างในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และเคลื่อนไหวข้อได้ยาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือมีวิธีแก้อาการปวดเข่าที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ข้อเสียรูปถาวรได้

  • โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ (Patella Chondromalacia)
    เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนใต้ลูกสะบ้า ทำให้ผิวกระดูกอ่อนนุ่มลงและขรุขระ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณด้านหน้าของเข่า โดยเฉพาะเมื่อนั่งนาน ๆ หรือเดินขึ้นบันได และอาการมักจะแย่ลงเมื่อมีการใช้งานเข่ามากขึ้น

  • โรคถุงน้ำข้อต่อบริเวณสะบ้าหัวเข่าอักเสบ (Prepatellar Bursitis)
    เกิดจากการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่ด้านหน้าของลูกสะบ้า ทำให้เกิดอาการบวม ปวด และแดงบริเวณด้านหน้าเข่า โดยอาการมักจะแย่ลงเมื่อกดหรือคุกเข่า

  • โรคถุงน้ำที่เอ็นประคองเข่าอักเสบ (Pesancerinous Bursitis)

    โรคนี้เกิดจากการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่บริเวณด้านในของเข่า ใต้จุดที่เอ็นกล้ามเนื้อสามมัดมาเกาะ (Pes Anserinus) ทำให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณด้านในของเข่า โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันไดหรือลุกจากท่านั่ง

อาการปวดเข่าในวัยรุ่นมีวิธีรักษา หรือวิธีแก้อาการปวดเข่าอย่างไร ?

โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดเข่าในวัยรุ่นจะใช้วิธีรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ การฝึกกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า การระบายของเหลวออกจากข้อเข่า ด้วยการดูดน้ำไขข้อออกจากบริเวณหลังข้อพับเข่า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นและความรุนแรงของอาการ หากส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากและไม่สามารถใช้วิธีรักษาข้างต้นได้ ก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้อาการปวดเข่าที่ได้ผลอย่างชัดเจน

วิธีป้องกันอาการปวดเข่า

  • หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ ควรระมัดระวังในการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า หากมีอาการบวมหรือปวดก็ควรหยุดพักและปรึกษาแพทย์ทันที
  • ออกกำลังกายให้ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัย และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักจนเกินไปด้วย
  • ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะช่วยลดแรงกดทับที่กระทำต่อข้อเข่า ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเข่าได้
  • เลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าที่นุ่มและมีการรองรับน้ำหนักได้ดีจะช่วยลดแรงกระแทกที่ส่งผ่านไปยังข้อเข่า
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ช่วยคลายการตึงของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดและทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างสบายตัว
  • ปรับท่าทางการนั่งและยืน การมีท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยลดแรงกดทับบนข้อเข่า หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนในท่าที่ทำให้เข่างอนานเกินไป

ได้รู้กันไปแล้วว่าอาการปวดเข่าในวัยรุ่นเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้อาการปวดเข่าอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ เมื่อมีอาการปวดเข่า ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้

อย่างไรก็ดี อาการเจ็บเข่ารักษาให้หายขาดได้ โดยวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจว่าอาการปวดเข่าของคุณเกิดจากอะไร สามารถมาปรึกษาได้ที่ Bonefit Clinic คลินิกกระดูกและข้อในกรุงเทพฯ ที่ให้การรักษาด้านกายภาพบําบัด เราพร้อมวินิจฉัยและรักษาอาการอย่างถูกวิธี ด้วยโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพอย่าง Progressive Muscle Relaxation ที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายจากปัญหาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อและพังผืดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บและการใช้งานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน นัดหมายแพทย์ได้เลยวันนี้ที่ โทร. 092 629 7964, 095 251 5952 หรือ Line ID : @BONEFIT Clinic

เรียบเรียงโดย

นพ. กนกพล ธนกิจรุ่งทวี (หมอนิก)

แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ อนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก 

การรักษาด้วยเซลล์บำบัด