ปัญหาน้ำหนักเกินไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อรูปร่างและความมั่นใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อกระดูกและข้อต่อ นำไปสู่ปัญหาข้อกระดูกพังและข้อเสื่อมได้ การลดน้ำหนักจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยถนอมข้อกระดูกให้สามารถใช้งานไปได้นาน ๆ โดยที่ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน
คำถามที่หลายคนมักสงสัยกันอยู่เสมอก็คือ น้ำหนักแค่ไหนถึงส่งผลต่อข้อกระดูก และทำให้มีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมได้
ตามหลักสากลแล้ว การประเมินว่าน้ำหนักของแต่ละคนมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์กำหนดจะใช้ดัชนีมวลกาย (Mass Body Index: BMI) โดยสูตรการคำนวณ คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร)2
ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร
BMI = 50 ÷ (1.60)2 = 50 ÷ 2.56 =19.531
จากนั้นให้ไปดูว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติหรือไม่ ดังนี้
น้ำหนักตัวที่กระทบต่อกระดูกและข้อต่อ คือ น้ำหนักที่เมื่อคำนวณหาค่า BMI แล้วได้ผลลัพธ์เกิน 25 ขึ้นไป ควรรีบลดน้ำหนักก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
สำหรับคนที่น้ำหนักเกิน จะมีความเสี่ยงเรื่องข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากข้อเข่าทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งเวลาที่นั่ง เดิน หรือวิ่ง เนื่องจากเวลาที่ทำกิจกรรมจะเกิดแรงกระทำขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราเดินตามปกติ ข้อเข่าของเราไม่ได้รับน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักตัวของเรา แต่ด้วยแรงกระทำจะทำให้ข้อเข่าแต่ละข้างรับน้ำหนัก 3-4 เท่าของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้ การลดน้ำหนักเพียงแค่ 1 กิโลกรัมก็สามารถเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่เข่าได้รับระหว่างที่เราเดินตามปกติถึง 3-4 เท่า ดังนั้น หากว่าลดน้ำหนักลงได้ 10 กิโลกรัม ก็สามารถลดน้ำหนักที่กดทับลงได้ถึง 30-40 กิโลกรัมเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้ หากว่าใครมีพฤติกรรมเสี่ยงบวกกับภาวะน้ำหนักเกินกว่าปกติ ก็อาจจะยิ่งเร่งให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้
ข้อเข่าเสื่อมยิ่งรู้ตัวไว และรีบดูแลรักษาก็จะช่วยชะลอความเสื่อม และสามารถดูแลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการต่อไป
แม้ว่ายิ่งอายุมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเริ่มเสื่อมไปตามสภาพ แต่เราทุกคนก็สามารถป้องกันและชะลออาการข้อเข่าเสื่อมได้ ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
ยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อเข่าก็จะรับแรงกระทำมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ให้ชั่งน้ำหนักและติดตามน้ำหนักของตัวเองเป็นประจำ หากน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ ให้รีบลดน้ำหนักก็จะดีที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นการนั่งไขว่ห้าง นั่งยอง ๆ เล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกสูง ดื่มน้ำอัดลม เดินหรือยืนอยู่บนส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ หากทำพฤติกรรมดังกล่าวเป็นประจำ ก็มีความเสี่ยงที่ข้อเข่าจะเสื่อมก่อนวัยได้เช่นเดียวกัน
แนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา เพื่อให้กล้ามเนื้อช่วยพยุงและรองรับน้ำหนักตัว และลดภาระของข้อเข่า
สำหรับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์ที่คลินิกกระดูกและข้อ เพื่อตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการรักษาจะมีหลากหลายแบบตามอาการและความรุนแรง โดยอาจจะใช้การรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือผสมกันหลากหลายวิธีเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้
ในเบื้องต้นหากผู้ป่วยมีอาการไม่หนักมาก แพทย์อาจจะให้ยาแก้ปวดและยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการ และให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อชะลอความเสื่อมก่อน
การรักษาโดยการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเข่าและกล้ามเนื้อโดยรอบ ให้มีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีที่มีอาการปวดข้อเข่าอย่างรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ
นวัตกรรมที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน เป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด มีประสิทธิภาพในการรักษาสูง
ปัจจุบันนวัตกรรมทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมาก และมีนวัตกรรมการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด นั่นคือ CTB Program หรือ Cartilage Tissue Biomolecule Program ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชีวโมเลกุลสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน และเพิ่มสารหล่อลื่นในข้อ ช่วยลดอาการปวดข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม CTB Program จะเหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง ดังนั้น หากเริ่มสังเกตว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อม รีบปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจะดีที่สุด และหากว่ายังไม่รู้ว่าจะไปหาหมอที่ไหน Bonefit Clinic คลินิกเฉพาะทางกระดูกและข้อ รักษาข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ต้องผ่าตัด ที่ใช้เทคโนโลยีชีวโมเลกุลสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถูกออกแบบโดยแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ ติดต่อนัดหมายเพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่ โทร. 092 629 7964, 095 251 5952 หรือ Line ID : @BONEFIT Clinic
HOME
About Us
Services
Blog
Review & Testimonials
BONEFIT THAILAND
Our Products
OA Knee Center
คลินิกรักษาข้อเข่าเสื่อม, รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม, เเพทย์รักษาอาการข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด