fbpx

เช็กด่วน ! อาการออฟฟิศซินโดรม ที่ควรรักษาก่อนจะเรื้อรัง

ในยุคสมัยที่การทำงานออฟฟิศกลายเป็นวิถีชีวิตหลักของคนวัยทำงาน ทำให้หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ อย่างอาการปวดเมื่อยเรื้อรังจากออฟฟิศซินโดรม ที่นอกจากจะส่งผลต่อการทำงานโดยตรงแล้ว ยังกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวอีกด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สายเกินแก้ บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมวิธีรักษาเพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์

ศึกษาอาการออฟฟิศซินโดรม เพื่อรักษาก่อนจะเรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร ?

อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำงานที่ต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือ เกร็งกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ ตึง ปวด เมื่อย ล้า อ่อนแรง โดยมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้

ท่าทางการทำงาน

ท่าทางการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักและเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดการอักเสบและปวดเมื่อยในระยะยาว ตัวอย่างของท่าทางที่ไม่เหมาะสม คือ 

  • การนั่งหลังงอ ไม่พิงพนักเก้าอี้
  • การก้มคอมากเกินไปขณะมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือขณะเล่นโทรศัพท์มือถือ
  • การยกไหล่ขณะใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์
  • การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน

การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ที่เดิม

สืบเนื่องจากท่าทางในการทำงาน การใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เช่น การพิมพ์งาน การใช้เมาส์ หรือการจดบันทึก ก็ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมและอาการปวดเมื่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคการบาดเจ็บจากการทำงานซ้ำ หรือ RSI (Repetitive Strain Injury) ได้อีกด้วย

สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม

สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลอย่างมากต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อร่างกาย ได้แก่

  • โต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ
  • การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม เช่น หน้าจออยู่ต่ำ หรือสูงเกินไป
  • แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือสว่างมากเกินไป ทำให้ต้องเพ่งสายตามากขึ้น
  • อุณหภูมิในที่ทำงานไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว
  • เสียงรบกวนที่ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการตึงของกล้ามเนื้อ

โรคประจำตัว

นอกจากนี้ ในบางครั้งอาการออฟฟิศซินโดรมยังอาจถูกกระตุ้นโดยโรคประจำตัวบางอย่างด้วย เช่น

  • โรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ
  • โรคเบาหวาน ที่อาจส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • โรคกระดูกสันหลังคด หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง

เช็กด่วน สำรวจอาการออฟฟิศซินโดรมก่อนจะเรื้อรัง !

ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ แต่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตอาการในระยะแรก ทำให้ปัญหาลุกลามจนกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ การรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้นเพื่อหาทางรักษาก่อนจะเรื้อรังจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถสังเกตได้จากอาการ ดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ หลัง แขน ขา 
  • รู้สึกชา ปลายมือปลายเท้า
  • อ่อนแรง
  • ปวดศีรษะ 
  • มึน เวียนหัว
  • ตาพร่า
  • อ่อนเพลีย
  • นอนหลับยาก
ทำกายภาพบำบัดที่คลินิกรักษาออฟฟิศซินโดรม

วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม

เมื่อสำรวจแล้วพบว่าเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรม ควรรีบทำการรักษาก่อนจะเรื้อรัง โดยจำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ดังต่อไปนี้

ปรับท่าทางการทำงาน

การปรับท่าทางการทำงานเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและรักษาออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บจากการทำงาน โดยมีหลักการดังนี้

  • นั่งหลังตรง พิงพนักเก้าอี้
  • ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าวางราบกับพื้น และหัวเข่าอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  • วางแขนให้พอดี โดยให้ไหล่อยู่ในตำแหน่งผ่อนคลาย ไม่ยกสูงหรือห่อไปด้านหน้า
  • จัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และอยู่ห่างจากตาประมาณ 50-70 เซนติเมตร
  • จัดวางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเอื้อม หรือบิดข้อมือ

สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี

สภาพแวดล้อมในการทำงานมีผลอย่างมากต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีสามารถทำได้ ด้วยการจัดแสงสว่างให้เหมาะสม รักษาอุณหภูมิในที่ทำงานให้อยู่ในระดับที่สบาย ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ รวมถึงการจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบ โดยอาจเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น การนำต้นไม้ หรือภาพธรรมชาติมาแต่งให้รู้สึกผ่อนคลาย

ยืดกล้ามเนื้อ เปลี่ยนอิริยาบถเป็นประจำ

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและป้องกันอาการปวดเมื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน ซึ่งสามารถทำได้โดยวิธี ดังนี้

  • ตั้งเวลาเตือน เพื่อลุกขึ้นยืน เดิน หรือยืดเส้นยืดสาย ทุก 30-60 นาที
  • ทำท่ายืดกล้ามเนื้อง่าย ๆ เช่น หมุนคอเบา ๆ ยืดแขน ยืดหลัง บิดลำตัว หรือยืดขา
  • ใช้เทคนิค 20-20-20 โดยทุก 20 นาที ให้มองไปที่วัตถุที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต หรือประมาณ 6 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อลดความเครียดของกล้ามเนื้อตา
  • ใช้โต๊ะทำงานแบบปรับระดับ เพื่อสลับระหว่างการนั่งและยืนทำงาน

ประคบร้อน หรือเย็น

เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยการประคบเย็นจะเหมาะสำหรับอาการปวดเฉียบพลัน หรือมีอาการอักเสบ และการประคบร้อนจะเหมาะสำหรับอาการปวดเรื้อรัง หรือกล้ามเนื้อตึง โดยควรประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง แต่ควรระวังในการใช้ความร้อน หรือความเย็นให้ดี โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด

กายภาพบำบัด ฝึกยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรง

การทำกายภาพบำบัดและการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่สามารถรักษาและป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยควรเริ่มจากการตรวจประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการประเมิน หาต้นเหตุของอาการเรื้อรัง และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยนักกายภาพบำบัดจะสอนวิธีการยืดกล้ามเนื้อมัดที่เป็นปัญหาและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการปวดเมื่อยเรื้อรังได้

อย่าปล่อยให้อาการทรุดหนักถึงค่อยดูแล มองหาการรักษาออฟฟิศซินโดรมที่มีคุณภาพในกรุงเทพฯ ที่ Bonefit Clinic คลินิกรักษาออฟฟิศซินโดรม ที่พร้อมให้การรักษาด้านกายภาพบำบัด โดยโปรแกรมฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ อย่าง Progressive Muscle Relaxation ที่จะทำการวิเคราะห์และประเมินหาสาเหตุของอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อแต่ละมัดอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาที่ตรงจุดและเห็นผล สามารถแก้อาการได้ในระยะยาว โดยทีมแพทย์และนักกายภาพเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ทั้งเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) หรือการใช้เทคนิคการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม

นอกจากนี้ ยังมีการรักษาโดยการใช้เครื่อง RF ซึ่งเป็นการใช้กระแสไฟฟ้าความถี่ 448KHz สร้างความร้อนลึกให้แก่กล้ามเนื้อและข้อต่อเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น คลายกล้ามเนื้อและลดอาการปวด รวมถึงการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser) ที่จะใช้แสงเลเซอร์เข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในบริเวณที่อักเสบ ระงับอาการปวดเฉพาะที่ และลดการอักเสบ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาอย่างสูงสุด ทำให้สามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายจากปัญหาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อและพังผืดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บและการใช้งานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานได้ รับคำปรึกษาเพื่อเข้ารับการรักษาที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคล 

หรือติดต่อทำการนัดหมายได้ที่ โทร. 092 629 7964, 095 251 5952 หรือ Line ID : @BONEFIT Clinic

ข้อมูลอ้างอิง